เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนควรทำอย่างไร
เราปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำกิจวัตรประจำวันต้องมีการเดินทางอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นเราเป็นผู้ขับขี่เอง หรือเป็นผู้โดยสารก็ตาม ซึ่งเมื่อไหร่ที่เราเริ่มเดินทางความเสี่ยงก็เกิดขึ้นกับเราทันที อุบัติเหตุบนท้องถนนอาจเกิดได้จาก 2 เหตุการณ์หลัก ๆ คือ รถเสียบนท้องถนน และเกิดอุบัติเหตุรถชน เรามาดูกันว่า หากเกิดเหตุบนท้องถนนควรทำอย่างไร
1. กรณีรถเสียบนท้องถนน
ขั้นตอนที่ 1 หยุดรถทันทีและรักษาความปลอดภัย
หากเราเป็นผู้ขับขี่ ก่อนอื่นเราควรตั้งสติให้ดีหยุดรถทันทีและเปิดไฟฉุกเฉินเพื่อ เตือนให้ผู้ขับขี่คนอื่นระวัง
หากพบประกายไฟหรือพบจุดความร้อนสูงผิดปกติจนอาจลุกลามไป ยังการเกิด ไฟไหม้ได้ให้รีบนำตัวเอง และผู้โดยสารออกจากรถ โดยให้ห่างออกจากตัวรถ ในรัศมีที่ปลอดภัย อย่างน้อย 90 เมตร หรือออกห่างจาก จุดเกิดเหตุให้ได้มากที่สุด และโทรแจ้ง 191 หรือ 199 เพื่อขอความช่วยเหลือต่อไป
หากรถอยู่ในสภาพขับเคลื่อนได้ ให้ตรวจสอบดูอันตรายที่อาจเกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว และให้เคลื่อนรถไปยังจุดปลอดภัย เช่น ไหล่ทาง หรือจุดพักรถ ดับเครื่องยนต์ และตั้งป้ายฉุกเฉิน (ป้ายสะท้อนแสงสามเหลี่ยม)
ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบความปลอดภัยของตนเองและผู้โดยสาร
หากเราเป็นผู้ขับขี่ให้ตรวจสอบว่าตนเองได้รับบาดเจ็บหรือไม่และจึงตรวจสอบผู้ที่โดยสาร มากับเราเป็นลำดับถัดไป หากมีอันตรายบาดเจ็บร้ายแรงให้โทรแจ้ง 1669 เพื่อขอความ ช่วยเหลือด้านการแพทย์ต่อไป
ขั้นตอนที่ 3 บันทึกข้อมูล
ถ่ายรูปหรือวีดีโอสภาพรถที่ได้รับความเสียหาย
บันทึกข้อมูลเหตุการณ์ เกิดอะไร ที่ไหน อย่างไรพบความเสียหายหรือผิดปกติตรงไหน
ขั้นตอนที่ 4 ติดต่อบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน, อู่, ศูนย์บริการ หรือช่างประจำ
หากมีการซื้อบริการช่วยเหลือฉุกเฉินไว้ หรือยังมีการรับประกันตัวรถ (Warrantee) อยู่ให้ติดต่อไปยังผู้ให้บริการ เพื่อให้คำแนะนำเบื้องต้นหรือประสานงาน มายกรถไปซ่อม ต่อไป
หากไม่มีบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน หรือการรับประกันตัวรถ (Warrantee) อยู่ให้ติดต่อ ไปยังอู่หรือศูนย์บริการ หรือช่างประจำเพื่อให้ช่วยดำเนินการต่อ โดยสามารถ
ค้นหาอู่ที่ได้มาตรฐานได้จากที่นี่
2. กรณีรถชนบนท้องถนน
ขั้นตอนที่ 1 หยุดรถทันทีและรักษาความปลอดภัย
ขั้นตอนแรกสุดเมื่อเกิดอุบัติเหตุไม่ว่าจะเป็นรถเสียหรือรถชนให้หยุดรถทันที ไม่ว่าจะชนเล็กน้อย หรือชนหนักก็ตาม และปฏิบัติเหมือนกรณีรถเสียบนท้องถนนข้างต้น
โดยก่อนเคลื่อนย้ายรถ หากสามารถถ่ายรูปหรือบันทึกวีดีโอสถานที่เกิดเหตุไว้ให้ ควรทำก่อนเคลื่อนย้ายรถไปยังจุดที่ปลอดภัย
ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบกรมธรรม์
โดยปกติรถยนต์จะมีกรมธรรม์ 2 ฉบับคือ กรมธรรม์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และกรมธรรม์ภาคสมัครใจ คือ ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ ประเภท 1, 2, 2+, 3+
กรมธรรม์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ใช้คุ้มครองเฉพาะกรณีที่มีคนบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเท่านั้น
กรมธรรม์ภาคสมัครใจ ใช้คุ้มครองทั้งความเสียหายของตัวรถยนต์ ทรัพย์สิน และเฉพาะการบาดเจ็บและเสียชีวิตส่วนเกินวงเงินคุ้มครองของ พ.ร.บ.
รถที่มีประกันภัยให้แจ้งไปยังบริษัทที่รับประกันเพื่อให้ทราบถึงอุบัติเหตุ โดยข้อมูลที่ต้องเตรียม คือ ชื่อ ผู้ขับขี่, ทะเบียนรถ, วัน เวลา และสถานที่ ที่เกิดเหตุ และลักษณะการเกิดเหตุ
สำหรับรถที่ไม่มีประกันภัยให้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่ 3 แลกเปลี่ยนข้อมูลกับคู่กรณี
ควรแลกเปลี่ยนข้อมูลสำคัญกับคู่กรณี คือ ชื่อ-สกุล, หมายเลขโทรศัพท์, เลขที่ใบขับขี่, เลขทะเบียนรถ
ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบความเสียหายเบื้องต้น
กรณีรถไม่มีประกันภัยให้แจ้งความกับตำรวจในพื้นที่ เจรจาไกล่เกลี่ยค่าเสียหาย โดยสามารถให้อู่ประเมินราคา โดยสามารถ ค้นหาอู่มาตรฐานได้จากที่นี่ และ
กรณีรถมีประกัน รอตัวแทนของประกัน หรือเจ้าหน้าที่สำรวจภัยมาที่เกิดเหตุ เพื่อบันทึกเหตุการณ์ เจรจา สรุปฝ่ายถูก-ผิด และออกเอกสารใบบันทึกความเสียหาย โดยหากเราเป็นฝ่ายถูกจะมีสิทธิ์ในการเรียกร้องค่าเสียหายต่าง ๆ ได้สามารถศึกษา
ขั้นตอนที่ 5 นำรถไปซ่อมที่อู่หรือศูนย์บริการ
หากรถสามารถขับขี่ได้ สามารถใช้งานต่อได้ และนำรถเข้าจัดซ่อมในภายหลัง
แต่หากรถเสียหายหนักไม่สามารถขับเคลื่อนใช้งานต่อได้ ให้ยกรถไปยังอู่หรือศูนย์บริการ โดยสามารถค้นหาอู่หรือศูนย์บริการมาตรฐานได้จากที่นี่